รูปแบบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนการสอน
1. การเรียนการสอนบนอินเทอร์เน็ตและเวิลด์ไวด์เว็บ
2. การส่งการสอนทางไกลด้วยการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม
3. การเรียนการสอนโดยการประชุมทางไกลด้วยวีดิทัศน์
4. บทเรียนลักษณะข้อความหลายมิติและสื่อหลายมิติ
5. บันทึกข้อมูลและสารสนเทศด้วยซีดีและดีวีดี
6. การเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีไร้สาย
7. การศึกษาเชิงลึกด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน
1. การเรียนการสอนบนอินเทอร์เน็ตและเวิลด์ไวด์เว็บ
2. การส่งการสอนทางไกลด้วยการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม
3. การเรียนการสอนโดยการประชุมทางไกลด้วยวีดิทัศน์
4. บทเรียนลักษณะข้อความหลายมิติและสื่อหลายมิติ
5. บันทึกข้อมูลและสารสนเทศด้วยซีดีและดีวีดี
6. การเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีไร้สาย
7. การศึกษาเชิงลึกด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน
การใช้ไอซีทีเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้
1. รูปแบบการใช้ ICT ในการเรียนการสอนเด็กและเยาวชนเห็นว่า เนื่องจากปัจจุบันมีกาปฏิรูปการเรียนการสอนแบบผู้เรียนสำคัญที่สุด ดังนั้น สื่อการสอนรวมทั้งสื่อ ICT เช่นโปรแกรมช่วยสอนบทเรียนสำเร็จรูป ฯลฯ ควรเข้ามามีบทบาทช่วยสอนมากขึ้น เพื่อช่วยให้นักเรียนได้ฝึกคิด ปฏิบัติจริง และทำให้เข้าใจในการเรียนอย่างแท้จริง
2. ห้องเรียน ICT ที่ต้องการ ต้องมีวัสดุอุปกรณ์ครบครันและทันสมัย เป็นห้องเรียนแบบ E- learning และ E – library เป็นแหล่งเรียนรู้ที่นักเรียนทุกคนสามารถใช้ได้ นอกจากนี้ ยังช่วยสร้างความบันเทิง คลายเครียด ฝึกความจำ และการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าโดยผ่านเกมต่างๆ
3. บทบาทครูผู้สอน ICT เด็กและเยาวชนเห็นว่า ครู ICT ต้องเปลี่ยนบทบาทจากผู้สอนมาเป็นผู้แนะนำ ผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้เรียนสืบค้นข้อมูล โดยแนะนำการใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและสอดส่องดูแลไม่ให้ผู้เรียนใช้ในทางที่ผิด เช่น chat เวลาเรียน เปิด website ที่ไม่เหมาะสม นอกจากนี้ ครูต้องทันโลก ทันเหตุการณ์ ใจกว้างยอมรับฟังความคิดเห็นจากผู้เรียนและบุคคลอื่นโดยไม่ยึดติดความคิดของตนเอง มีกระบวนการสร้างทักษะการเรียนการสอนและรู้จักบูรณาการเทคโนโลยีกับความเป็นธรรมชาติ บูรณาการการสอนความรู้ด้านคุณธรรม ศีลธรรมให้นักเรียนควบคู่กับการเรียนการสอน ICT และที่ขาดไม่ได้คือ ครูต้องมีคุณธรรม จริยธรรมและมีจรรยาบรรณในวิชาชีพครูด้วย
4. ผลกระทบจากการใช้ICTในการเรียนการสอน
ข้อดี ผู้เรียนได้พัฒนาและเรียนรู้ได้ดี สามารถเรียนด้วยตนเอง ใช้สะดวก รวดเร็วกระตุ้นความสนใจและได้ฝึกปฏิบัติจริง
ข้อเสีย เด็กและเยาวชนไทยอาจถูกครอบงำจากสื่อที่ไม่เหมาะสม ใช้สื่อในทางที่ผิดสูญเสียความเป็นตนเอง ขาดความสัมพันธ์ทางด้านสังคมและจิตใจ ขาดมนุษย์สัมพันธ์ระหว่างเพื่อน การเรียนผ่านระบบเครือข่ายเป็นการเรียนแบบจำลองสถานการณ์ ทำให้ผู้เรียนไม่สามารถรู้ถึงตัวตนที่แท้จริงของผู้อื่นได้ นอกจากนี้เด็กและเยาวชนสมัยใหม่ใช้ชีวิตสบายเกินไปทำให้ลืมวิถีชีวิตสมัยก่อน และการใช้ ICT ในการเรียนการสอนต้องลงทุนสูง
5. การใช้ ICT เท่าที่เป็นอยู่ขาดอุปกรณ์ที่จำเป็นได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ไม่เพียงพอ นักเรียนขาดทักษะการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบการติดต่อสื่อสารเครือข่ายอินเตอร์เน็ตไม่ดีพอ มีเวลาเรียนน้อยและขาดครูผู้สอนที่มีความรู้ด้านนี้โดยตรง
6. พ่อแม่ ผู้ปกครอง ส่งเสริมการใช้ ICT เพื่อการเรียนรู้ โดยการเปิดโอกาสให้ลูกได้ใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการศึกษามากกว่าความบันเทิง โดยพ่อแม่ ผู้ปกครองต้องคอยดูแล ให้คำปรึกษาแนะนำอย่างใกล้ชิด จัดหาสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบ ICT รวมทั้งควรส่งเสริมและสนับสนุนให้บุตรหลานเข้าร่วมแข่งขันหรืออบรมเรื่องใช้ ICT เพื่อการเรียนการสอนหรือการเรียนรู้
7. เด็กและเยาวชนต้องการให้มีการใช้ ICT เพื่อการเรียนการสอนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกันทุกโรง มีวัสดุอุปกรณ์เกี่ยวกับการใช้ ICT ทันสมัยและเพียงพอ มีการส่งเสริมการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้มากขึ้น นอกจากนี้ อยากให้มีหน่วยเคลื่อนที่ “ไอซีทีเพื่อการเรียนรู้” ที่ออกให้ความรู้แก่เด็กและเยาวชน พ่อแม่ ผู้ปกครอง และชุมชนทั่วประเทศ และส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ด้านไอซีทีเพื่อการเรียนรู้ทุกภูมิภาค กล่าวโดยสรุป จากการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ปรัชญา ด้านเทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงตัวของมันเองร่วมกับปัจจัยด้านต่าง ๆ ในด้านขอบข่ายสาระของแนวคิด และกระบวนทัศน์ของเทคโนโลยีการศึกษา จากโสตทัศนศึกษา มาเป็นเทคโนโลยีการศึกษาครอบคลุม การจัดระบบ ทฤษฎีต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อศาสตร์ และสื่อต่าง ๆ เกิดเป็นสหวิทยาการที่มีขอบข่ายกว้างขวาง ครอบคลุมการศึกษาทุกแบบ การศึกษาด้วยตนเอง การศึกษาทางไกล การเรียนรู้ตลอดชีวิต การศึกษากับชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น เทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ การเรียนรู้ผ่านเครือข่ายและสื่อสมัยใหม่ มุ่งสร้างองค์ความรู้แก่ผู้เรียน โดยเปลี่ยนจาก Teacher Center เป็น Child Center และมีแนวโน้มจะเป็น Media Center
1. รูปแบบการใช้ ICT ในการเรียนการสอนเด็กและเยาวชนเห็นว่า เนื่องจากปัจจุบันมีกาปฏิรูปการเรียนการสอนแบบผู้เรียนสำคัญที่สุด ดังนั้น สื่อการสอนรวมทั้งสื่อ ICT เช่นโปรแกรมช่วยสอนบทเรียนสำเร็จรูป ฯลฯ ควรเข้ามามีบทบาทช่วยสอนมากขึ้น เพื่อช่วยให้นักเรียนได้ฝึกคิด ปฏิบัติจริง และทำให้เข้าใจในการเรียนอย่างแท้จริง
2. ห้องเรียน ICT ที่ต้องการ ต้องมีวัสดุอุปกรณ์ครบครันและทันสมัย เป็นห้องเรียนแบบ E- learning และ E – library เป็นแหล่งเรียนรู้ที่นักเรียนทุกคนสามารถใช้ได้ นอกจากนี้ ยังช่วยสร้างความบันเทิง คลายเครียด ฝึกความจำ และการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าโดยผ่านเกมต่างๆ
3. บทบาทครูผู้สอน ICT เด็กและเยาวชนเห็นว่า ครู ICT ต้องเปลี่ยนบทบาทจากผู้สอนมาเป็นผู้แนะนำ ผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้เรียนสืบค้นข้อมูล โดยแนะนำการใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและสอดส่องดูแลไม่ให้ผู้เรียนใช้ในทางที่ผิด เช่น chat เวลาเรียน เปิด website ที่ไม่เหมาะสม นอกจากนี้ ครูต้องทันโลก ทันเหตุการณ์ ใจกว้างยอมรับฟังความคิดเห็นจากผู้เรียนและบุคคลอื่นโดยไม่ยึดติดความคิดของตนเอง มีกระบวนการสร้างทักษะการเรียนการสอนและรู้จักบูรณาการเทคโนโลยีกับความเป็นธรรมชาติ บูรณาการการสอนความรู้ด้านคุณธรรม ศีลธรรมให้นักเรียนควบคู่กับการเรียนการสอน ICT และที่ขาดไม่ได้คือ ครูต้องมีคุณธรรม จริยธรรมและมีจรรยาบรรณในวิชาชีพครูด้วย
4. ผลกระทบจากการใช้ICTในการเรียนการสอน
ข้อดี ผู้เรียนได้พัฒนาและเรียนรู้ได้ดี สามารถเรียนด้วยตนเอง ใช้สะดวก รวดเร็วกระตุ้นความสนใจและได้ฝึกปฏิบัติจริง
ข้อเสีย เด็กและเยาวชนไทยอาจถูกครอบงำจากสื่อที่ไม่เหมาะสม ใช้สื่อในทางที่ผิดสูญเสียความเป็นตนเอง ขาดความสัมพันธ์ทางด้านสังคมและจิตใจ ขาดมนุษย์สัมพันธ์ระหว่างเพื่อน การเรียนผ่านระบบเครือข่ายเป็นการเรียนแบบจำลองสถานการณ์ ทำให้ผู้เรียนไม่สามารถรู้ถึงตัวตนที่แท้จริงของผู้อื่นได้ นอกจากนี้เด็กและเยาวชนสมัยใหม่ใช้ชีวิตสบายเกินไปทำให้ลืมวิถีชีวิตสมัยก่อน และการใช้ ICT ในการเรียนการสอนต้องลงทุนสูง
5. การใช้ ICT เท่าที่เป็นอยู่ขาดอุปกรณ์ที่จำเป็นได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ไม่เพียงพอ นักเรียนขาดทักษะการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบการติดต่อสื่อสารเครือข่ายอินเตอร์เน็ตไม่ดีพอ มีเวลาเรียนน้อยและขาดครูผู้สอนที่มีความรู้ด้านนี้โดยตรง
6. พ่อแม่ ผู้ปกครอง ส่งเสริมการใช้ ICT เพื่อการเรียนรู้ โดยการเปิดโอกาสให้ลูกได้ใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการศึกษามากกว่าความบันเทิง โดยพ่อแม่ ผู้ปกครองต้องคอยดูแล ให้คำปรึกษาแนะนำอย่างใกล้ชิด จัดหาสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบ ICT รวมทั้งควรส่งเสริมและสนับสนุนให้บุตรหลานเข้าร่วมแข่งขันหรืออบรมเรื่องใช้ ICT เพื่อการเรียนการสอนหรือการเรียนรู้
7. เด็กและเยาวชนต้องการให้มีการใช้ ICT เพื่อการเรียนการสอนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกันทุกโรง มีวัสดุอุปกรณ์เกี่ยวกับการใช้ ICT ทันสมัยและเพียงพอ มีการส่งเสริมการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้มากขึ้น นอกจากนี้ อยากให้มีหน่วยเคลื่อนที่ “ไอซีทีเพื่อการเรียนรู้” ที่ออกให้ความรู้แก่เด็กและเยาวชน พ่อแม่ ผู้ปกครอง และชุมชนทั่วประเทศ และส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ด้านไอซีทีเพื่อการเรียนรู้ทุกภูมิภาค กล่าวโดยสรุป จากการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ปรัชญา ด้านเทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงตัวของมันเองร่วมกับปัจจัยด้านต่าง ๆ ในด้านขอบข่ายสาระของแนวคิด และกระบวนทัศน์ของเทคโนโลยีการศึกษา จากโสตทัศนศึกษา มาเป็นเทคโนโลยีการศึกษาครอบคลุม การจัดระบบ ทฤษฎีต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อศาสตร์ และสื่อต่าง ๆ เกิดเป็นสหวิทยาการที่มีขอบข่ายกว้างขวาง ครอบคลุมการศึกษาทุกแบบ การศึกษาด้วยตนเอง การศึกษาทางไกล การเรียนรู้ตลอดชีวิต การศึกษากับชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น เทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ การเรียนรู้ผ่านเครือข่ายและสื่อสมัยใหม่ มุ่งสร้างองค์ความรู้แก่ผู้เรียน โดยเปลี่ยนจาก Teacher Center เป็น Child Center และมีแนวโน้มจะเป็น Media Center
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น